เมนู

บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน 2 คน
นั้น ผู้ใดควรติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรร-
เสริญ ย่อมไม่พูดสรรเสริญผู้นั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมป-
ชัญญะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล ทั้ง
ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล.

อรรถกถาบุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้


ตามกาล ฯลฯ เป็นต้น


บทว่า "อนนุวิจฺจ" ได้แก่ ไม่พิจารณา คือ ไม่สำรวจ.
บทว่า "อปริโยคาเหตฺวา" ได้แก่ ไม่ให้ถือเอาซึ่งคุณทั้งหลายด้วย
ปัญญา.
สองบทว่า "ภูตํ ตจฺฉ" ได้แก่ ที่ชื่อว่าเป็นจริง เพราะเป็นของมี
อยู่ ชื่อว่า เป็นของแท้ เพราะเป็นของไม่วิปริต.
บทว่า "กาเลน" ได้แก่ ตามกาลอันควรและเหมาะสม.
ข้อว่า "ตตฺร กาลญฺญู โหติ" ความว่า คำนี้ใด ท่านกล่าวไว้ว่า
"กาเลน" ก็บุคคลใดเป็นกาลัญญู คือเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อประโยชน์แก่การ
พยากรณ์ปัญหานั้นว่า กาลนี้เมื่อข้าพเจ้าถูกเขาถามปัญหาไม่ควรกล่าว ในกาลนี้
ควรกล่าว" เพราะเหตุนี้ผู้นี้ จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวตามกาล.
สองบทว่า "อุเปกฺโข วิหรติ" ได้แก่ เป็นผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขาอัน
มีความเป็นกลาง. ในคำทุก ๆ บทที่เหลือมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.